ในร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำมากถึงสามในสี่
ดังนั้นหลายทฤษฎีทางการแพทย์จึงให้ความสำคัญในการกระตุ้น
รักษาสมดุลการทำงานของน้ำในระดับโมเลกุล หนึ่งในนั้นคือการเชื่อว่า
ถ้าสามารถทำให้โมเลกุลน้ำมีการเรียงตัวกันอย่างสมบูรณ์ในลักษณะผลึกหกเหลี่ยม
จะทำให้การนำพาอาหารเข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นไปอย่างทรงประสิทธิภาพ
และทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากสาเหตุโรคภัย
เครื่องมือสำคัญที่ราคาถูกและให้ผลทั้งในแง่อารมณ์ควบคู่ไปกับกายภาพ คือ
การใช้เสียงดนตรี และนี่คือเคล็ดลับ และหลักการที่คุณควรรู้และเริ่มทำ
คลื่นเสียงมีอิทธิพลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในร่างกายมนุษย์
อวัยวะใดที่มีคลื่นความถี่ต่ำก็มักเกิดการสะสมของสารพิษได้ง่าย ดังนั้น
การฟังดนตรีที่เหมาะสมจึงช่วยกระตุ้นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ทำงานสมดุล สม่ำเสมอ จังหวะและเสียงดนตรีจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจและสมองของคนเราอย่างมาก
การรับฟังดนตรีที่มีความไพเราะอยู่เสมอ จะทำให้สมองหลั่ง สารแห่งความสุข
ช่วยลดความตึงเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิ มีจิตใจสงบ ระบบหัวใจ
ระบบขับถ่าย ระบบหายใจทำงานได้ดี ความดันโลหิตเป็นปกติ ทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรค
รอดพ้นจากความเจ็บป่วย
นักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบว่า หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานประเภทท่องจำ
ท่องบทต่างๆ ควรฟังดนตรีประเภทเขย่าครึกโครม หรือดนตรีระบบใหม่ๆ เช่น แนวเพลงป๊อป
ร็อค แร็พ ควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้สมองสามารถจำได้ง่ายและเร็วขึ้น
ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเขียนบทความ นิยาย แถลงการณ์
ควรฟังดนตรีแนวคลาสสิก ที่มีสำเนียงเยือกเย็นคลอในระหว่างทำงาน
จะเพิ่มจินตนาการและสมาธิ สำหรับงานคิดคำนวณ งานบัญชี งานรวบรวมเอกสาร
หรือวัตถุดิบ ควรฟังเพลงพวกเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน กีต้าร์ ที่ช่วยกระตุ้นระบบสัมผัส
ในด้านการแพทย์ มักแนะนำให้ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นทารกในครรภ์มารดา
ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลง ทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายที่ดี
เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้น และยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้น
นอกจากนี้การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน
โดยเฉพาะการใช้ดนตรีสดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยใน 48
ชั่วโมงแรก ผลปรากฏว่าช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์
และช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดได้ดี
รายงานการวิจัยมากมายยืนยันว่าความสัมพันธ์ของคลื่นเสียงมีอิทธิพลต่อน้ำในร่างกายมนุษย์
กล่าวคือ
หากผลึกน้ำในร่างกายมีรูปทรงหกเหลี่ยมอันเกิดจากการได้รับฟังเสียงที่ไพเราะ
ก็จะสามารถแทรกซึมผ่านผนังเซลล์เพื่อแลกเปลี่ยนสารอาหารและชำระล้างของเสียออกจากร่างกายได้
ขณะที่การรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นโทรศัพท์ หรือเสียงดนตรีแนว Heavy
Metal รวมทั้งมลภาวะทางเสียงทั้งหลาย
กลับทำให้ผลึกน้ำในร่างกายแปรเปลี่ยนรูปทรงเป็นผลึกที่ไม่สวยงามและไม่มีคุณภาพ
เช่น เป็นทรงกลม หรือเป็นรูปทรงผลึกที่กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ
ซึ่งหมายถึงความสามารถในการนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ที่ด้อยลง
นักดนตรีบำบัดยืนยันว่าดนตรีสามารถเบี่ยงเบนความสนใจหรือความหมกมุ่นในใจของคนเราให้หันเหออกไปจากจุดเดิมที่เป็นอยู่
การฟังเพลงเวลาเครียดจะรู้สึกสบายขึ้นเพราะสมองถูกเบี่ยงเบนและได้รับวงจรใหม่
ในต่างประเทศจึงมีการใช้ดนตรีกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดเพื่อลดอาการเจ็บปวด
ความวิตกกังวล ส่วนประเทศไทยมีการใช้ดนตรีกับกายภาพบำบัด โรคเครียด
ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ วัยรุ่นที่มีความก้าวร้าว เป็นโรคจิตซึมเศร้า
ดนตรีจึงมีความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ ระบบประสาท และภูมิคุ้มกันโรค
หากต้องการอารมณ์ที่จรรโลงใจและดีต่อสุขภาพจิต
ลองเลือกฟังดนตรีที่ให้ความสงบสุข เช่น ดนตรีของ Kitaro, Enja หรือบทเพลงทางศาสนา
ส่วนเพลงบรรเลง (Light Music) ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่น
สบาย หรือถ้าอยากปลุกความสามัคคีก็ลองเลือกฟังเพลงประเภทประสานเสียง เป็นต้น
การอยู่ท่ามกลางเสียงดนตรีเบาๆ เราจะสัมผัสถึงความรู้สึกที่ชุ่มชื่น
และอารมณ์ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะสมดุล เพลงใดที่ฟังแล้วรู้สึกเข้าถึงอารมณ์
แสดงว่าเพลงนั้นมีระดับความเร็ว (Tempo) เท่ากับจังหวะชีพจร
ซึ่งระดับความเร็วนี้ก็เป็นตัวช่วยสร้างอารมณ์ให้แก่ผู้ฟังด้วย ดนตรีจังหวะเร็วๆ
อาจทำให้
รู้สึกเหนื่อย แต่หากจังหวะยิ่งช้าก็จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
การเริ่มหาจังหวะของตัวเอง ควรเริ่มต้นที่จังหวะของดนตรีซึ่งช่วยให้ร่างกาย
กระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง บรรเทาอาการหงอย เฉื่อยชา เกียจคร้าน บางจังหวะบางบทเพลงอาจช่วยให้ค้นพบอารมณ์ของตัวเอง
และยกระดับความรู้สึกให้ดีขึ้นช่วยสยบความวิตกกังวลและความเครียดทำให้มีสมาธิ
มีสติปัญญาแจ่มใสขึ้น รวมทั้งช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และความไวของความรู้สึก
มนุษย์คุ้นเคยกับเสียงดนตรีมาก่อนถือกำเนิด
เราได้ยินเสียงดนตรีธรรมชาติจากหลายทาง ตั้งแต่จังหวะการเต้นของชีพจร
หัวใจที่สัมผัสได้จากท้องแม่ ลมหายใจ การก้าวย่าง ฤดูกาล น้ำขึ้นน้ำลง
ล้วนเป็นจังหวะในชีวิตและธรรมชาติ นี่คือส่วนหนึ่งของความสมดุลในชีวิต
จึงนับเป็นไอเดียที่ดี ถ้าในวันไหนหรือช่วงเวลาใดที่เรารู้สึกอ่อนไหว อ่อนเพลีย
หรือขาดแรงกระตุ้น จะลองหันมาใช้ชีวิตในเสียงดนตรีมากขึ้น
เพราะมันคือการกลับสู่พลังงานต้นกำเนิด
ที่มา : http://health.kapook.com
ที่มา : http://health.kapook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น